yachtchartersplit.com

3 ทักษะการทำงาน ที่สามารถเรียนรู้ได้จากกีฬาการแข่งเรือยอร์ช

January 12, 2021 กีฬาทางน้ำ

ขึ้นชื่อว่ากีฬานั้น แน่นอนว่ามีประโยชน์ต่อผู้เล่นไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ซึ่งกีฬาแข่งเรื่องยอร์ชก็เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่ให้ประโยชน์มากมายกับผู้เล่นทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยประโยชน์ทางตรงของการเล่นกีฬาชนิดนี้ ก็คือ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และความผ่อนคลายที่ได้จากการเล่นกีฬาที่ชื่นชอบนั่นเอง ส่วนประโยชน์ทางอ้อมนั้นเห็นจะมีอยู่มากมาย วันนี้จึงได้นำเอา 3 ทักษะการทำงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้สามารถเรียนรู้ได้จากกีฬาการแข่งเรือยอร์ชมาฝากกัน ไปดูกันเลยดีกว่าว่า 3 ทักษะนั้นมีอะไรกันบ้าง

1.ทักษะการแก้ปัญหาและความมีภาวะผู้นำในการกล้าตัดสินใจ อย่างที่ทราบกันดีว่าในการเล่นกีฬาเรือยอร์ชนั้น จะต้องพบเจอกับปัญหาระหว่างการแข่งขันมากมาย ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน เฉกเช่นเดียวกับการทำงานที่ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตามย่อมมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อยู่ในงาน หรือในกระบวนการทำงาน ดังนั้นพื้นฐานทักษะการแก้ปัญหาและการกล้าตัดสินใจที่ได้มาจากการเล่นกีฬาเรือยอร์ชจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จำเป็น และมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งของแบบนี้ต้องบอกเลยว่าอ่านจากในหนังสืออย่างเดียว ก็คงจะไม่สู้รู้และสัมผัสด้วยตัวเองอย่างแน่นอน ซึ่งการมีทักษะการแก้ปัญหาและการกล้าตัดสินใจนี้จะสะท้อนความเป็นผู้นำให้กับตัวเรา และเป็นเครื่องผลักดันให้เราสามารถที่จะได้รับโอกาสอันดีในการทำงานต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

2.ทักษะการวิเคราะห์และการทำงานอย่างรอบคอบ สิ่งที่นักกีฬาแข่งเรือยอร์ชจะขาดไปไม่ได้เลยก็คือทักษะการวิเคราะห์ หากถามว่าวิเคราะห์อะไร ก็คงจะเป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองและการแข่งขัน กล่าวคือในการแข่งขันนั้นสิ่งที่จะสามารถควบคุมได้อย่างแน่นอนที่สุดก็คือจิตใจของตัวนักกีฬา ว่าจะมีความสู้ต่ออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องการตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่จะใช้ในการแข่งขัน และแน่นอนว่าปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างเช่นความเป็นไปของธรรมชาติ กระแสน้ำกระแสลม ก็เป็นสิ่งที่ตัวนักกีฬาจะต้องมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์จำลองว่าหากเกิดเหตุการณ์แบบใดแบบหนึ่งขึ้นจะต้องแก้ปัญหาอย่างไร หรือจะต้องเดินเกมอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้จะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในเรื่องของการคำนวณทิศทางลมและกระแสน้ำเข้ามาช่วยด้วยกอปรกับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการฝึกซ้อม ในขณะเดียวกันทุกวินาทีในการแข่งขันก็จะต้องมีความรอบคอบ เพราะหากพลาดเพียงนิดเดียวนั่นอาจหมายถึงความพ่ายแพ้ หรือที่ร้ายที่สุดคือการเกิดอุบัติเหตุขึ้นขณะการแข่งขันอย่างไม่คาดคิด ซึ่งทักษะดังกล่าวข้างต้นนี้ก็เป็นทักษะเดียวกันกับที่คนทำงานจำเป็นจะต้องมีถ้าหากว่าอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามที่ต้องการ

3.ทักษะการคิดอย่างเป็นหลักการและการทำงานอย่างเป็นระบบ เนื่องจากกีฬาชนิดนี้ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็เล่นกันให้ได้ดีได้โดยง่าย ดังนั้นนักกีฬาจึงควรมีทักษะการคิดที่เป็นหลักการและเป็นระบบ กล่าวคือสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการแข่งขันเรือยอร์ชที่ได้ศึกษาหาความรู้มานั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแข่งขัน ในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ทันท่วงที และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะเหล่านี้อีกเช่นเดียวกันที่ต่างก็สำคัญกับการทำงานในยุคสมัยใหม่นี้เป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามกีฬาการแข่งเรือยอร์ชยังมีพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ สร้างเสริมทักษะในการทำงานได้อีกมากมาย หากผู้อ่านสนใจก็สามารสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ เพื่อจะได้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเล่นกีฬาชนิดนี้ดูบ้างในอนาคต

การแข่งเรือยอร์ชทักษะการทำงานเรือยอร์ช

SUP Yoga โยคะรูปแบบใหม่ที่คุณหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่รักการเล่นโยคะไม่ควรพลาด

ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแข่งเรือยอร์ช

Categories
  • กีฬาทางน้ำ
  • กีฬารถแข่ง
Recent Posts
  • นับถอยหลัง โมนาโก กรังด์ ปรีซ์ 2022
  • 3 ทักษะการดำรงชีวิตที่ได้จากการเป็นนักกีฬาแข่งเรือยอร์ช
  • ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแข่งเรือยอร์ช
  • 3 ทักษะการทำงาน ที่สามารถเรียนรู้ได้จากกีฬาการแข่งเรือยอร์ช
  • SUP Yoga โยคะรูปแบบใหม่ที่คุณหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่รักการเล่นโยคะไม่ควรพลาด
Tags
AMA Supercross AP Honda Flow rider HRC jet ski Motocross MotoGP MXGP Repsol Honda Superbike SUP Yoga World Superbike การขับขี่ การพายเรือคายัค การแข่งเรือยอร์ช กีฬา กีฬาทางทะเล กีฬาทางน้ำ กีฬารถแข่ง กีฬาแล่นเรือยอร์ช คายัค ทะเล ทักษะการดำรงชีวิต ทักษะการทำงาน ทิม ไกจ์เซอร์ ท่องเที่ยว ผจญภัย ฟลายบอร์ด รถมอเตอร์ไซค์ รัชฎา นาคเจริญศรี วินเซิร์ฟ สนามแข่งขันกีฬาฟลายบอร์ด เคน ร็อคเซ่น เจ็ตสกี เจ็ทสกี เรือคายัค เรือยอร์ช เรือใบ เล่นกีฬา เอ็กซ์ตรีม แข่งขันเรือยอร์ช แล่นเรือยอร์ช โมโตจีพี โยคะ ไอรอนแมน
Proudly powered by WordPress | Theme: Doo by ThemeVS.